วันนี้มอะไรบ้าง

วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เดินป่าล่าขุมทรัพย์

ขุมทรัพย์ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงแก้ววแหวนเงินทอง ทรัพย์สมบัตินะ แต่ขุมทรัพย์นี้เป็นธรรมชาติที่สวยงามแมกไม้นานาพันธุ์ สัตว์ป่าน้อยใหญ่ แม่น้ำลำธารที่ไหลเย็น ที่แหละคือขุมทรัพย์อันล้ำค่าของโลกนี้
......^___^

ป่าไม้เมืองไทย

ป่าไม้เมืองไทย
      ป่าไม้ถือว่าเป็นแหล่งรวมพันธุกรรมสิ่งมีชีวิตที่ใหญ่และสำคัญที่สุด  มีสิ่งมีชีวิตอีกจำนวนมากที่อยู่ในป่าที่มนุษย์ยังไม่รู้จัก  สิ่งมีชีวิตดังกล่าวอาจจะมีค่าอย่างมหาศาลต่อชีวิตมนุษย์  เช่นเป็นแหล่งวัตถุดิบของยารักษาโรค และสารเคมีตามธรรมชาติ  ที่สำคัญเป็นแหล่งพันธุกรรม เพื่อใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์   และยังอำนวยประโยชน์นานัปการทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อมนุษย์โดยรวม
        จากสภาพภูมิอากาศที่เป็นแบบเขตร้อนและกึ่งร้อน  มีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และตะวันตกเฉียงใต้พัดผ่าน  มีสภาพภูมิประเทศที่มีคุณลักษณะและความอุดมสมบูรณ์แตกต่างกันไป จึงทำให้ประเทศไทยมีป่าอยู่หลายชนิดด้วยกัน  ป่าในประเทศไทยสามารถแบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ คือ  ป่าไม่ผลัดใบ  (Evergreen Forest) และป่าผลัดใบ (Deciduous Forest)  ซึ่งในแต่ละกลุ่มประกอบด้วยป่าชนิดต่างๆ ดังนี้
ป่าไม้เมืองไทย
ป่าไม่ผลัดใบ (Evergreen Forest)
           สังคมพืชป่าไม่ผลัดใบเป็นป่าที่ประกอบไปด้วยพรรณพืชที่ให้ความเขียวชอุ่มตลอดปี  ป่ากลุ่มนี้มีประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์  ของเนื้อที่ป่าของประเทศไทย  และสามารถแยกออกเป็นชนิดย่อยๆ ได้อีกหลายชนิด คือ
      
          ป่าดิบชื้น    มีอยู่ตามภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ของประเทศ ที่มีระดับสูงตั้งแต่ระดับเดียวกันกับระดับน้ำทะเล  จนถึงระดับ 100 เมตร มีปริมาณน้ำฝนตกไม่น้อยกว่า 2500 มิลิเมตร ต่อปี  พรรณไม้ที่ขึ้นมีมากชนิด  เช่น  พวกไม้ยางต่างๆ พืชชั้นล่างจะเต็มไปด้วยพวก ปาล์ม หวาย  ไผ่ต่างๆ และเถาวัลย์นานาชนิด
      ป่าดิบแล้ง    มีอยู่ทั่วไปตามภาคต่างๆ ของประเทศ  ตามบริเวณที่ราบและหุบเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล ตั้งแต่ 100 - 500 เมตร  มีปริมาณน้ำฝนระหว่าง 1000 - 2000 มิลิเมตร ต่อปี  มีพรรณไม้หลักอยู่หลายชนิดด้วยกัน เช่น กระบาก  ยางนา  ยางแดง  ตะเคียนหิน  เต็งตานี  พยอม  สมพง  มะค่า  ยางน่อง  กระบก  พลวง  เป็นต้น  พืชชั้นล่างก็มีพวกปาล์ม พวกหวาย  พวกขิงข่า  แต่ปริมาณไม่หนาแน่นนัก
      ป่าดิบเขา    คือป่าที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1000 เมตรขึ้นไป  กระจัดกระจายอยู่ตามภาคต่างๆ ของประเทศ  มีปริมาณน้ำฝนระหว่าง 1500 - 2000 มิลิเมตรต่อปี  พรรณไม้หลักค่อนข้างจำกัด เช่น ก่อชนิดต่างๆ ทะโล้ ยมหอม กำลังเสือโคร่ง  นางพญาเสือโคร่ง  สนสามพันปี  มะขามป้อมดง พญาไม้  พญามะขามป้อมดง  สนแผง กุหลาบป่า ฯลฯ  ผสมปนกันไป  ตามต้นไม้มีพวกไลเคนและมอส หรือตะไคร่น้ำเกาะอยู่  พืชชั้นล่างมีพวกไม้ดอกล้มลุก เฟิร์น และไผ่ชนิดต่างๆ กระจายอยู่ทั่วไป
      ป่าสน    มักจะกระจายเป็นหย่อมๆ ทางภาคเหนือ  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ภาคตะวันออก และภาคตะวันตกเฉียงใต้  ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 200 - 1600 เมตร  มีปริมาณน้ำฝนระหว่าง 1000 - 1500 มิลิเมตร  พรรณไม้ที่ขึ้นมีไม่มากชนิด  มีสนสองใบ กับสนสามใบเป็นหลัก นอกจากนั้นก็มีพวกไม้เหียง  ไม้พลวง  ก่อกำยาน  ไม้เหมือด  พืชชั้นล่างมักเป็นพวกหญ้าต่างๆ และพืชกินแมลงบางชนิด
          ป่าพรุ และป่าบึงน้ำจืด     เป็นป่าตามที่ลุ่ม และมีน้ำขังอยู่เสมอ  พบกระจายทั่วไปและพบมากทางภาคใต้ อยู่ระดับเดียวกับน้ำทะเลเป็นส่วนมาก  เป็นป่าอีกประเภทหนึ่งที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง  เท่าที่มีการสำรวจพบว่า มีพรรณไม้ไม่น้อยกว่า 50 ชนิด ปริมาณน้ำฝนระหว่าง 2300 - 2600 มิลิเมตร ต่อปี  พรรณไม้หลักมีพวกมะฮัง  สะเตียว ยากา  ตารา  อ้ายบ่าว  หว้าน้ำ  หว้าหิน  ช้างไห้  ตังหน ตีนเป็ดแดง  จิกนม  เป็นต้น  พืชชั้นล่างเป็นพวกปาล์ม เช่น  หลุมพี  ค้อ  หวาย ขวน  ปาล์มสาคู  รัศมีเงิน  กระจูด  เตยต่างๆ เป็นต้น
         ป่าชายเลนหรือป่าบึงน้ำเค็ม     เป็นป่าที่น้ำทะเลท่วมถึง  พบตามชายฝั่งที่เป็นแหล่งสะสมดินเลนทั่วๆ ไป นับเป็นเอกลักษณ์ของสภาพป่าอีกแบบหนึ่งในเขตร้อน  เป็นป่าที่พืชพรรณค่อนข้างน้อยชนิด  และขึ้นเป็นกลุ่มเป็นก้อน  เท่าที่สำรวจพบมี 70 ชนิด  พรรณไม้หลักมีไม้  โกงกางใบเล็ก  และโกงกางใบใหญ่เป็นพื้น  นอกนั้นเป็นพวกแสม  ไม้ถั่ว  ประสักหรือพังกา  โปรง  ฝาด  ลำพู  ลำแพน  เป็นต้น  ผิวหน้าดินเป็นที่สะสมของพวกมวลชีวภาพ  เป็นอาหาของสัตว์ทะเลวัยอ่อนอย่างดี  สำหรับพืชชั้นล่างเป็นพวกเหงือกปลาหมอ  ถอบแถบน้ำ  ปรงทะเล  และจาก เป็นต้น
         ป่าชายหาด    เป็นป่าที่มีอยู่ตามชายฝั่งทะเลที่มีดินเป็นกรวด ทราย และโขดหิน  พรรณไม้น้อยชนิด  และผิดแผกไปจากป่าอื่นอย่างเด่นชัด  ถ้าเป็นแหล่งดินทราย  จะมีพวกสนทะเลขึ้นเป็นกลุ่มก้อน  ไม่ค่อยมีพรรณไม้อื่นปะปน  พืชชั้นล่างมีพวกคนทีสอ  ผักบุ้งทะเล  และพรรณไม้ส่วนใหญ่จะเป็นพวกกระทิงไม้เมา  หูกวาง  และเกด เป็นต้น
ป่าไม้เมืองไทย
ป่าไม้ผลัดใบ  (Deciduous Forest)
            สังคมพืชป่าผลัดใบ  เป็นสังคมที่ประกอบไปด้วยพรรณพืชที่ผลัดใบหรือทิ้งใบเป็นองค์ประกอบสำคัญ การผลัดเปลี่ยนใบจะใช้เวลาค่อนข้างยาวนาน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูแล้ง สังคมพืชกลุ่มนี้มีประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์  ของเนื้อที่ป่าของประเทศไทย และแยกเป็นชนิดย่อยๆ คือ
 ป่าไม้เมืองไทย
ป่าเบญจพรรณ    มีอยู่ทั่วไปตามภาคต่างๆ ของประเทศที่เป็นที่ราบ  หรือตามเนินเขาที่สูงจากระดับน้ำทะเล ระหว่าง 50 - 600 เมตร  ดินเป็นได้ตั้งแต่ดินเหนียว  ดินร่วน จนถึงดินลูกรัง   ปริมาณน้ำฝนไม่เกิน 1000 มิลิเมตรต่อปี  เป็นสังคมพืชที่มีความหลากหลายทางมวลชีวะมากสังคมหนึ่ง  พรรณไม้จะผลัดใบมากในฤดูแล้ง  เป็นเหตุให้พรรณไม้เหล่านี้มีวงปีในเนื้อไม้หลายชนิด  พรรณไม้ขึ้นคละปะปนกันที่เป็นไม้หลักก็มี สัก  แดง  ประดู่  มะค่าโมง  พยุง  ชิงชัน  พฤกษ์ถ่อน  ตะเคียงหน  หมากราย  รกฟ้า  พี้จั่น  และไผ่ขึ้นเป็นป่าหนาแน่น


 ป่าไม้เมืองไทย
ป่าเต็งรัง     มีอยู่ทั่วไปตามภาคต่างๆ ของประเทศ  ที่เป็นที่ราบหรือตามเนินเขาที่สูงจากระดับน้ำทะเล 100 - 600 เมตร  ดินมักเป็นดินทรายและดินลูกรัง  มีปริมาณน้ำฝนไม่เกิน 1000 มิลิเมตรต่อปี  พรรณไม้ที่ขึ้นมักเป็นชนิดที่ทนแล้ง ทนไฟป่า  เช่น  เต็ง  รัง  เหียง  พลวง  กราด  ประดู่  แสลงใจ  เม่า  มะขามป้อม  มะกอก  ผักหวาน ฯลฯ พืชชั้นล่างส่วนใหญ่เป็นพวกหญ้า  ไผ่ต่างๆ ที่พบมากที่สุดคือ ไผ่เพ็กหรือหญ้าเพ็ก  พวกปรง  พวกขิง  ข่า  กระเจียว  เปราะ เป็นต้น


 ป่าไม้เมืองไทย
ป่าหญ้า    เป็นป่าที่เกิดภายหลังจากที่ป่าธรรมชาติอื่นๆ ดังกล่าวข้างต้นได้ถูกทำลายไปหมด  ดินมีสภาพเสื่อมโทรมจนไม้ต้นไม่อาจขึ้นหรือเจริญงอกงามได้อีกต่อไป  พวกหญ้าต่างๆ จึงเข้ามาแทนที่  พบได้ทางภาคเหนือ  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  และภาคตะวันออกของไทย  หญ้าที่ขึ้นส่วนใหญ่เป็นหญ้าคาแฝก  พญาพงอ้อ  แขม เป็นต้น  ไม้ต้นมีขึ้นกระจายห่างๆ กันบ้าง  เช่น  กระโดน  กระถินป่า  สีเสียดแก่น  ประดู่  ติ้ว  แต้ว  ตานเหลือง  และปรงป่า  เป็นต้น  ไม้เหล่านี้ทนแล้งและทนไฟป่าได้ดี












ขอบขอบคุณ  www.google.com
                      www.youtobe.com