วันนี้มอะไรบ้าง

วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

13 แมลงที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์







๑๓ แมลงอนุรักษ์


          ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติทางด้านแมลงอย่างอุดมสมบูรณ์ทั้งชนิดและปริมาณ แมลงต่างๆ เหล่านี้มีความหลากหลายในรูปลักษณะ สีสัน บางชนิดมีรูปร่างแปลกและสีสวยงาม เป็นที่ต้องการเสาะแสวงหาของนักสะสมแมลงเพื่อไว้เป็นสมบัติของตัวเอง หรือ ซื้อขายแลกเปลี่ยน ดังนั้นจึงมีการล่าจับแมลงกันมากเพื่อประโยชน์ทางการค้า จากการที่มีธุรกิจการค้าแมลงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้น่าเป็นห่วงว่าแมลงจะถูกจับไปเป็นจำนวนมากจากสภาพแวดล้อมปกติของมัน ซึ่งแมลงกำลังถูกคุกคามท่าด้านอื่นๆ อย่างหนักอยู่แล้ว เช่น การตัดไม้ทำลายป่าทำให้ปริมาณแมลงลดน้อยลง เนื่องจากสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมในการแพร่พันธุ์ตามธรรมชาติได้ถูกทำลายไป กับทั้งยังมีการล่าจับแมลงเพื่อเป็นการค้ามากยิ่งขึ้น อาจทำให้แมลงบางชนิดที่มี่มีปริมาณน้อยอยู่แล้วในธรรมชาติสูญพันธุ์ไปได้ ดังนั้นจึงได้ดำเนินการอนุรักษ์แมลง โดยเฉพาะแมลงที่สวยงามและหายากเพื่อไม่ให้สูญพันธุ์ไปจากประเทศไทย






ปัญหาเกี่ยวกับการจับและการค้าแมลง

ในการอนุรักษ์แมลงนั้น จำเป็นต้องหามาตรการในการควบคุมและแก้ไข ในปัญหาที่เกี่ยวข้อง 2 ประการ คือ ในด้านการจับแมลงและด้านการค้าแมลง ในด้านการจับแมลงนั้นส่วนใหญ่ไปจับในแหล่งที่มีแมลงมาก ได้แก่เขตป่าอนุรักษ์ต่างๆ เช่น เขตอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ซึ่งเป็นแหล่งอาศัยและแพร่พันธุ์ตามธรรมชาติของแมลงได้เป็นอย่างดี จึงมีการลักลอบเข้าไปจับแมลงในป่าอนุรักษ์เสมอ สำหรับเรื่องการค้าแมลงนั้น แมลงที่นำมาค้าเกือบทั้งหมดเป็นแมลงที่จับมาจากแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของมัน ส่วนที่ได้จากการเพาะเลี้ยงนั้นมีน้อยมากหรือไม่มีเลย ผู้ค้ารับซื้อแมลงจากชาวบ้านในราคาถูก แต่นำมาจำหน่ายในราคาสูง นอกจากทำการค้าในประเทศแล้ว ยังมีการส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศด้วยตามใบสั่งลูกค้า หรือส่งบัญชีรายชื่อแมลงและราคาไปยังกลุ่มพ่อค้าแมลงในต่างประเทศเพื่อให้พิจารณาสั่งซื้อ ธุรกิจการส่งแมลงไปจำหน่ายต่างประเทศนั้นทำรายได้อย่างมหาศาลให้แก่ผู้ค้า ประเทศไทยต้องสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติทาด้านแมลงไปเป็นจำนวนมาก






การกำหนดชนิดแมลงอนุรักษ์
จากปัญหาดังที่ได้กล่าวมาแล้วทำให้น่าเป็นห่วงว่า แมลงที่สวยงามซึ่งมีการจับและการค้ามากนั้น จะมีปริมาณลดน้อยลงไปมากจากสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติของมัน และบางชนิดอาจสูญพันธุ์ไปได้ ดังนั้นจึงได้ทำการศึกษาหาแนวทางการอนุรักษ์แมลงเหล่านี้ขึ้น หลักเกณฑ์ในการกำหนดชนิดมแลงอนุรักษ์มีดังนี้
1. เป็นแมลงในกลุ่มที่มีการจับเพื่อการค้ามาก ซึ่งได้แก่พวกด้วงและผีเสื้อ
2. เป็นแมลงที่หายาก โดยพิจารณาดูว่า แมลงพวกด้วงและผีเสื้อที่มีตัวอย่างเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์แมลงของกรมวิชาการเกษตรนั้น ชนิดใดเป็นชนิดที่หายาก โดยเป็นชนิดที่จับได้เมื่อ 30-40 ปีมาแล้ว แต่ต่อมาสำรวจไม่พบแลงชนิดนั้นอีก หรือพบแต่มีปริมาณน้อยมาก จัดว่าเป็นแมลงที่หายาก
3. เป็นแมลงที่มีอยู่ในบัญชีรายชื่อในอนุสัญญา CITES (Convention on International Trade in Endangered Spicies of Wild Fauna and Flora) หรืออนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการค้า ซึ่งพืชป่าและสัตว์ป่าที่กำลังสูญพันธุ์ ในบัญชีหมายเลข2 ของอนุสัญญานี้มีราชื่อแลงที่พบในประเทศไทยด้วย 3 รายการ คือ ผีเสื้อภูฐาน ( Bhutanitis spp.) ผีเสื้อไกเซอร์ ( Teinopalpus spp.) และผีเสื้อถุงทอง( Troides spp.) ดังนั้นในการกำหนดชนิดของแมลงอนุรักษ์จึงได้กำหนดแมลงทั้ง 3 รายการนี้เข้าไปด้วย






สรุปแนวทางการอนุรักษ์แมลง 

1. กำหนดชนิดของแมลงให้เป็นสัตว์ป่าสงวนหรือคุ้มครองเพิ่มเติม
2. ป้องกันการลักลอบจับแมลงในเขตป่าอนุรักษ์
3. ควบคุมการส่งแมลงออกไปต่างประเทศ
4. ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์แมลงที่อนุรักษ์
5. สร้างจิตสำนึกในด้านการอนุรักษ์
แมลงมีชีวิตความเป็นอยู่ได้หลายรูปแบบตามสภาพแหล่งอาศัยต่างๆ กัน มีทั้งชนิดที่มีอยู่อย่างโดดเดี่ยวตามลำพังหรืออยู่รวมกันเป็นกลุ่ม มีสังคมของมันเอง มีทั้งชนิดที่เป็นประโยชน์และให้โทษ แต่อย่างไรก็ตามแมลงมีส่วนสำคัญในระบบนิเวศวิทยา ทำให้ธรรมชาติอยู่ในสภาวะสมดุล นอกจากนี้ความสวยงามของแมลงยังมีส่วนช่วยทำให้โลกสดใสน่าอยู่ขึ้น จึงสมควรอนุรักษ์แมลงไว้ โดยเฉพาะแมลงที่สวยงามและหายากไม่ให้สูญพันธุ์ไปจากประเทศไทย เป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไว้












ด้วงกว่างดาว
(Cheirotonus parryi Gray, วงศ์ Scarabaeidae)
เป็นด้วงขนาดใหญ่ ตัวผู้มีขาหน้ายาวสวยงาม ตัวเมียขาหน้าสั้น ด้วงชนิดนี้พบทางภาคเหนือและภาคตะวันออก














ด้วงคีมยีราฟ(Chadagnathusgiraffa Fabricus, วงศ์ Lucanidae)พบที่ภาคเหนือและภาคตะวันออก ด้วงคีมหรือด้วงเขี้ยวกางในประเทศไทยมีหลายชนิดและมีรูปร่างแปลกสวยงามจึงมีการล่าจับกันมาก











ด้วงดินขอบทองแดง


(Mouhotia batesi Lewis , วงศ์ Carabidae)
ด้วงดินที่มีขนาดใหญ่ ตัวสีดำ แต่ขอบบริเวณส่วนอกมีเหลือบเป็นสีทองแดง พบที่ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ



















ด้วงดินปีกแผ่น


( Mormolyce phyllodes Hegenb, วงศ์ Carabidae)
ด้วงดินที่มีปีกหน้าแบนบางเป็นแผ่นทำให้ดูสวยและแปลก เป็นแมลงที่หายาก พบเฉพาะภาคใต้












ผีเสื้อกลางคืนค้างคาว

( Lyssa zampa Butler, วงศ์ Uraniidae)ผีเสื้อกลางคืนขนาดใหญ่ บินเร็ว

คล้ายค้างคาว พบทุกภาค
ins5.gif (14030 bytes)
















ผีเสื้อกลางคืนหางยาว
( Actiasspp. วงศ์ Saturniidae)
ผีเสื้อขนาดใหญ่ปลายปีกหลังยาวลงมา ส่วนใหญ่มีสีเหลืองเนื่องจากมีขนาดใหญ่และสวยงามจึงมีการล่าจับกันมาก แมลงในสกุลนี้ที่พบแล้วในประเทศไทยมี 4 ชนิดคือ
ผีเสื้อหางยาวตาเคียวปีกลายหยัก( Actias maenas Doubleday)
ผีเสื้อหางยาวตาเคียวปีกลายตรง ( A. rhodopneuma Rober)
ผีเสื้อหางยาวสี่ตาปีกลายตรง ( A.selene Huber)
และผีเสื้อหางยาวปีกลายหยัก ( A.sinensis heterogyna Mell )
  ins12.gif (16961 bytes)      ins22.gif (24520 bytes)        ins23.gif (24885 bytes)        ins24.gif (19474 bytes)        ins25.gif (19422 bytes)



ins1.gif (19618 bytes)









ผีเสื้อไกเซอร์

( Teinopalpus spp. วงศ์ Papilionidae)
เป็นแมลงอนุรักษ์ที่กำหนดไว้ในาบัญชีหมายเลข 2 ของอนุสัญญา CITES ในประเทศไทยมีชนิดเดียว คือผีเสื้อไกเซอร์ (Teinopalpus imperialisimperatrix de Niceville) พบที่ภาคเหนือ เฉพาะบนดอยผ้าห่มปก อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ชอบบินอยู่สูงเหนือยอดไม้ เป็นแมลงที่หายาก
ins13.gif (16489 bytes)










ผีเสื้อถุงทอง





( Troides spp. วงศ์ Papilionidae)
เป็นแมลงอนุรักษ์ที่กำหนดไว้ในบัญชีหมายเลข 2 ของอนุสัญญา CITES ในประเทศไทยที่พบแล้วมีอยู่หลายชนิด เช่น ผีเสื้อถุงทองป่าสูง ( Troides helena Linnaeus) ผีเสื้อถุงทองปักษ์ใต้ ( T. amphrysus Cramer), ผีเสื้อถุงทองธรรมดา( T.aeacus Felder) ถึงแม้ว่าผีเสื้อถุงทองบางชนิดสามารถนำมาเลี้ยงได้ แต่ไม่ได้ทำการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ในเชิงธุรกิจ
ins16.gif (21438 bytes)ins27.gif (19464 bytes)ins14.gif (18870 bytes)            ins28.gif (18022 bytes)     

ins20.gif (19666 bytes)








ผีเสื้อนางพญา


( Stichophthalma sPP. วงศ์ Amathusiidae)
เป็นผีเสื้อกลางวันที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย พบ 3 ชนิดคือ ผีเสื้อนางพญาพม่า( Stichopthalma louisa Wood-Mason), พบที่ภาคเหนือ ผีเสื้อนางพญาเขมร (S.cambodia Hewitson ) พบที่ภาคตะวันออก และผีเสื้อนาพญากอดเฟรย์ ( S.godfreyi Rothschild) พบที่ภาคใต้
  ins21.gif (25144 bytes)     ins29.gif (24651 bytes)



ins10.gif (17291 bytes)











ผีเสื่อภูฐาน




( Bhutanitis spp. วงศ์ Papilionidae)
เป็นแมลงอนุรักษ์ที่กำหนดไว้ในบัญชีหมายเลข 2 ของอนุสัญญา CITES ในประเทศไทยมีชนิดเดียวคือผีเสื้อภูฐาน หรือ ผีเสื้อเชียงดาว ( Bhutanitis lidderdalii Atkinson) แต่ในปัจจุบันไม่เคยพบอีก สันนิษฐานว่าคงสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยแล้ว





ins6.gif (19305 bytes)

















ผีเสื้อรักแร้ขาว


( Papilio protenor euprotenor Fruhstorfer, วงศ์ Papilionidae)
เป็นผีเสื้อหายากอีกชนิดหนึ่ง บริเวณขอบปีกหลังมีสีขาว พบแถบภาคกลาง





ins7.gif (27107 bytes)
















ผีเสื้อหางดาบตาลไหม้


( Meandrusa gyas Westwood, วงศ์ Papilionidae )
พบที่ภาคเหนือและภาคใต้ ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะแตกต่างกัน
ins8.gif (16087 bytes)






ins4.gif (15906 bytes)











ผีเสื้อหางติ่งสะพายเขียว

( Papilio palinurus Fabricius, วงศ์ Papilionidae)
มีสีสวยงามพบที่ภาคกลางและภาคใต้


แมลงทั้ง 13 รายการนี้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ได้ประกาศอยู่ในบัญชีท้ายกฎกระทรวงฉบับที่ 4 (พ.ศ.2537)
ออกตามความในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 และประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกาเล่ม 111 ตอนที่ 31ก ลงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2537


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น